วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เที่ยว จ.ภูเก็ต

แหลมพรหมเทพ เป็นจุดชมวิวที่สวยงามของภูเก็ต อยู่ห่างจากหาดราไวย์ ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นแหลมที่อยู่ตอนใต้สุดของเกาะภูเก็ต ชาวบ้านเรียกว่าแหลมเจ้า จากริมหน้าผามีแนวต้นตาลลาดลงสู่ปลายแหลมที่เป็นโขดหิน สามารถเดินไปจนถึงปลายแหลมได้ มองเห็นน้ำทะเลสีเขียวมรกต และสามารถเห็นเกาะแก้วอยู่ด้านหน้าแหลม ทางขวาจะเห็นแนวหาดทรายของหาดในหาน แหลมพรหมเทพนับเป็นสถานที่ชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามมากแห่งหนึ่ง
          นอกจากนั้นยังมี “ประภาคารกาญจนาภิเษก แหลมพรหมเทพ” สร้างขึ้นในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี มีขนาดความกว้างที่ฐาน 9 เมตร สูง 50 ฟุต และแสงไฟจากโคมไฟจะมองเห็นไกลถึง 39 กิโลเมตร ใช้เป็นเครื่องหมายในการเดินเรือเนื่องจากภูเก็ตถือเป็นศูนย์กลางเส้นทางคมนาคมในทะเลอันดามันที่สำคัญ ภายในประภาคารมีการแสดงนิทรรศการเกี่ยวการสร้างประภาคาร การรักษาเวลามาตรฐาน การคำนวณ และแสดงเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นและตก เรือหลวงจำลองพร้อมประวัติเรือแต่ละลำ จากบนยอดของประภาคารยังเป็นจุดชมทิวทัศน์บริเวณแหลมพรหมเทพโดยรอบ


   หาดป่าตอง อีกหนึ่งชายหาดและแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศหากมาเยือนคือจังหวัดภูเก็ต  ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต           ชายหาดมีลักษณะเป็นอ่าวโค้งกว้าง  มีน้ำทะเลใส หาดทรายที่สวยงาม เหมาะสำหรับการเล่นกีฬาทางน้ำทุกชนิด  เป็นหาดที่เป็นจุดศูนย์กลางของนักท่องเที่ยว จนเรียกได้ว่านักท่องเที่ยวที่มาภูเก็ตไม่มีใครที่ไม่รู้จักหาดป่าตอง หาดป่าตองยังเป็นหาดที่มีสถานบันเทิงต่างๆ มากมายทุกประเภทที่เปิดให้บริการนักท่องเที่ยว นับเป็นหาดที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากที่สุดในภูเก็ต อาทิ สถานที่พัก บริษัทนำเที่ยว ศูนย์การค้า แหล่งบันเทิง เป็นต้น สินค้า และของที่ระลึกทุกชนิดสามารถซื้อหาได้ที่หาดป่าตอง จนมีบางคนเคยพูดไว้ว่าถ้าหาอะไร ในหาดป่าตองไม่เจอก็ไม่ต้องไปหาที่อื่นในจังหวัดภูเก็ต แต่ราคาสินค้าในหาดป่าตองนั้นจะค่อนข้างสูง เนื่องจากลูกค้าส่วนมากเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในการเลือกซื้อสินค้าต้องอาศัยทักษะในการต่อรองราคาจึงจะซื้อได้ราคาถูก หาดป่าตองอยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ต 15 กิโลเมตร  เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวง 4029 (จะมีป้ายบอกว่าไปหาดป่าตอง) อีก 6 กิโลเมตรซึ่งเป็นถนนที่ค่อนข้างคดเคี้ยวและมีความลาดชันสูง
สิ่งดึงดูดใจ          1. ความงามของหาดทราย หาดป่าตองเป็นหาดที่เป็นอ่าวกำแพง เพราะมีเทือกเขากั้นเป็นกำแพงอยู่หลังอ่าว ด้วยลักษณะธรรมชาติของหาดป่าตองที่มีลักษณะหาดกว้างยาว และสุดหัวหาดทั้งสองด้านมีเชิงเขาที่เป็นโขดหินยื่นออกไปในทะเลด้านละประมาณ 200-300 เมตร จึงทำให้หาดสวยงาม คลื่นลมก็ไม่รุนแรง ระยะน้ำตื้นห่างจากฝั่ง 30-40 เมตร สามารถเล่นน้ำทะเลได้ตลอดปี จึงเป็นที่นิยมเล่นน้ำและพักผ่อนหย่อนใจของชาวบ้านชาวเมืองและชาวต่างประเทศเป็นอันมาก จนป่าตองถูกกล่าวขานว่าเป็นหาดที่สวยงามและมีชื่อเสียงระดับโลก

          2. การดำน้ำชมความงามของปะกะรัง กัลปังหา และปลาสวยงาม เพราะทะเลหาดป่าตองมีทรัพยากรใต้น้ำที่มีความงามเป็นเลิศ ทั้งสองปีกอ่าวป่าตองมีแนวปะการังที่มีสภาพต่างกัน เนื่องจากสภาวะของที่ตั้งของหาดป่าตองและอิทธิพลจากลมมรสุม ปีกอ่าวด้านเหนือแนวปะการังจะสั้นและชัน ชนิดของปะการังจะเป็นโขดขนาดใหญ่มากกว่าปีกอ่าวด้านใต้ ที่ปีกอ่าวด้านเหนือประกอบด้วยหาดทรายเล็กสองหาด เรียงตัวจากด้านนอกสุดเข้ามา
         

ที่ตั้ง
         
วัดพระทอง (วัดพระผุด)  ตั้งอยู่ในเขต บ้านนาใน ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ห่างจากตัวเมืองประมาณ 21 กิโลเมตร เดินทางไปตามถนนเทพกษัตรีหรือทางหลวงหมายเลข 402 ผ่านสี่แยกอำเภอถลาง ถึงที่ว่าการอำเภอถลางทางด้านขวาจะมีทาง แยกเข้าวัดพระทอง
ประวัติความเป็นมา
          จากตำนานพื้นบ้านเล่าต่อกันมาว่า เดิมบริเวณวัดเป็นทุ่งโล่งใช้เลี้ยงสัตว์ มีเด็กลูกชาวบ้านแถบนั้นนำควายมาเลี้ยงโดยผูกควายไว้กับหลักซึ่งโผล่ขึ้นมาจากพื้นดิน หลังจากนั้นเด็กและควายตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ตกกลางคืนพ่อของเด็กฝันว่าเด็กตาย เพราะนำควายไปล่ามกับพระเกตุมาลาของพระพุทธรูปที่จมดินอยู่ รุ่งขึ้นจึงช่วยกันค้นหาและพบว่ามีพระพุทธรูปอยู่ที่บริเวณนั้นจริง จึงช่วยกันขุดเพื่อนำไปไว้ในสถานที่เหมาะสมแต่ก็ไม่สำเร็จ ต่อมาเมื่อ พ . ศ .2328 พระเจ้าปะดุง กษัตริย์พม่ายกทัพมาโจมตีเมืองถลางได้ใช้ให้ทหารขุดพระผุดเพื่อนำกลับไปบูชาที่พม่า เมื่อขุดลงไป คราวใดจะมีฝูงแตนไล่ต่อยจนต้องเลิกขุดในที่สุด ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงนำทองคำมาหุ้มพระพุทธรูปที่ผุดขึ้นมาจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของ “พิพิธภัณฑสถานวัดพระทอง” เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุข้าวของเครื่องใช้ของชาวภูเก็ต เช่น “จังซุ่ย” เสื้อกันฝนชาวเหมืองแร่ดีบุก รองเท้าตีนตุกของสตรีเชื้อสายจีนที่ต้องมัดเท้าให้เล็กตามค่านิยมของสังคมสมัยนั้น เช่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น